“Thailand 4.0” คำพูดที่หลายคนได้ยินและรับทราบ ตอนนี้ประเทศไทยกำลังกายไปสู่ Thailand 4.0หรือเรียกว่า การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรม หลายคนคงเข้าใจว่าเพียงแค่มีเทคโนโลยีเข้ามาในชีวิตประจำวัน และอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว นวัตกรรมที่เราพูดถึงนั้นมีหลากหลายด้าน เช่น อาหาร เกษตร สาธารณสุข เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต และรวมถึง การบริการ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อประเทศไทยกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้ ต้องมีระบบการเงินที่รองรับนวัตกรรมเหล่านั้นจึงมีการออกแบบ ระบบที่รองรับขึ้นมานั้นคือ คือ Digital Payment
Digital payment คืออะไร
Digital Payment คือลักษณะการชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทางภาครัฐได้เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2559 พบว่าการใช้ Digital payment ของไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีการใช้บริการชำระเงิน-โอนเงินผ่านทางอุปกรณ์ Mobile อย่างแพร่หลาย โครงการที่เริ่มจุดประกายนี้คือ โครงการ Prompt-pay ทำให้คนไทยหันมาสนใจ Digital Payment มากขึ้น และเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยไปโดยปริยาย
บริบทของ Digital payment
Digital payment ถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาภาคธุรกิจให้ก้าวสู่ไปสู่ประเทศไทย 4.0 โดยสนับสนุนให้ภาคธุรกิจขยายช่องทางการค้าได้สะดวกรวดเร็วขึ้นผ่านการชำระเงินผ่านช่องทาง ออนไลน์ เช่น การรับ-ส่งข้อมูลการซื้อขายสินค้า การชำระภาษี การชำระค่าบริการ หรือการค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ Digital payment นั้นยังคงตอบโจทย์ต่อความต้องการของประชาชนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยที่เน้น สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย
Digital payment สร้างการหมุนเวียนของเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและการเงินเป็นไปอย่างรวดเร็วราบรื่น คล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการค้าขายของภาคธุรกิจและกระตุ้นการบริโภคของภาคประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปี 2561 พบว่าการใช้ Digital Payment ในประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะการใช้บริการชำระเงิน-โอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมาก ข้อมูลเชิงสถิติชี้ให้เห็นว่า การใช้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 116 ต่อปี ทำให้เรารู้ว่านี้เป็นอนาคตที่จะไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต
แผนการพัฒนา Digital Payment
ทางธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ริเริ่มได้มีแผนในการ พัฒนา Digital Payment โดยให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับสาระสำคัญของแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับที่ 4 ซึ่งต้องปรับสภาพแวดล้อม หรือ Ecosystem ให้ Digital Payment เป็นทางเลือกกลายเป็นทางเลือกหลักในการชำระเงิน โดยมุงไปที่ โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินและบริการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพ มีปลอดภัย ราคาถูก และเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ในทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็น ประชาชนทั่วไป กลุ่มธุรกิจค้าขายออนไลน์ รวมถึงธุรกิจ SME และธุรกิจขนาดใหญ่ และธนาคารแห่งประเทศไทยได้กรอบแนวทางในการพัฒนา Digital Payment อยู่ 5 ด้าน ได้แก่
1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินให้ได้มาตรฐานพร้อมเชื่อมโยง (Interoperable Infrastructure) โดยเพิ่มขีดความสามารถและความมั่นคงปลอดภัยของระบบการชำระเงินสำคัญให้ได้มาตรฐานสากล ยกระดับการใช้ ISO20022 เพื่อรองรับการส่งข้อมูลทางธุรกิจและการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ
2.การส่งเสริมนวัตกรรมและบริการชำระเงิน (Innovation) โดยพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
3.การส่งเสริมการเข้าถึงและใช้บริการชำระเงิน (Inclusion) โดยขยายการใช้ Digital Payment และความรู้ความเข้าใจในทุกภาคส่วน
4.การกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง (Immunity) สร้างภูมิคุ้นกันพร้อมรับมือภัยไซเบอร์และคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม
5.การพัฒนาข้อมูลชำระเงิน (Information) โดยเชื่อมโยงข้อมูลการชำระเงินอย่างบูรณาการ และการพัฒนา การวิเคราะห์เชิงลึก
การขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ฯ ฉบับ 4 มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี 2562 – 2564 ทางธนาคารแห่งประเทศไทย มีนโยบายที่จะร่วมกับสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการชำระเงิน และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้บรรลุผล โดยต้องที่โครงการต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานการชำระเงินให้มีความมั่นคง ปลอดภัย รองรับการพัฒนานวัตกรรม เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนทุกคนทั่วประเทศ
Digital payment ถือเป็นการก้าวข้ามข้อจำกัดทางการเงินจากเดิม ทำให้เราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมีอิสระเพิ่มมากขึ้น ความสะดวก ความปลอดภัย ความรวดเร็ว ได้ทุกที่ ได้ทุกเวลา เพียงแค่มีอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และในอนาคตเราอาจได้เห็น การจ่ายเงินด้วยอัตลักษณ์บุคคล ที่คือการจ่ายเงินแบบไม่ต้องใช้เงินสด ไม่ต้องใช้บัตร ไม่ต้องใช้มือถือ ใช้เพียงหน้าตา ลายนิ้วมือ เสียง ม่านตา เส้นเลือด เป็นต้น อนาคตแห่งการไร้เงินสดคงมาเข้ามาเร็วกว่าที่คิด เราเตรียมรับมือกันหรือยัง ?