ประวัติคนดังระดับโลก ประวัตินักลงทุน

ประวัติ Lee Byung-chul ผู้ก่อตั้ง samsung มหาเศรษฐีระดับโลก

Written by invest2morrow

Sumsung เป็นชื่อแบรนด์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เรารู้จักกันดีมากอีกแบรนด์หนึ่ง ซึ่งนอกจากจะเป็นแบรนด์ที่ยิ่งใหญ่ในประเทศเกาหลีใต้ สำหรับนอกประเทศก็ยังถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศด้วยเช่นกัน การเติบโตและการพัฒนาของ Sumsung หากเรามองย้อนกลับไปดูก็ต้องบอกว่ามีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะเรื่องราวของลี เบียงชอลผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของ Global brand แบรนด์นี้ ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับชายผู้เป็นต้นกำเนิดของ Sumsung กันให้มากขึ้น

ประวัติ Lee Byung-chul ในวัยเด็กที่เพียบพร้อมสู่การเป็นเจ้าของแบรนด์ในระดับโลก

เรามักได้ยินเรื่องราวล้มลุกคลุกคลานในวัยเด็กของมหาเศรษฐีผู้เป็นเจ้าของธุรกิจนะดับโลกกันมาไม่น้อย แต่เรื่องราวเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องราวของลี เบียงชอล เพราะในวัยเด็กเขาเกิดและเติบโตมาในครอบครัวของเจ้าของที่ดินจึงทำให้ในวัยเด็กเขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างดี ลี เบียงชอลเป็นลูกชายคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 4 คน เขาเกิดในปี 1910 และมีโอกาสได้เรียนต่อจนจบชั้นมีมัธยมปลายที่ Joongdong High School ในกรุงโซลและสำเร็จการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

เขาเริ่มต้นธุรกิจแรกในปี 1936 ด้วยการจัดตั้งบริษัทขนส่งมาซันโดยมีรถบรรทุกกว่า 20 คันซึ่งเงินทุนก้อนแรกที่เขาใช้ดำเนินธุรกิจก็มาจากการสนับสนุนของครอบครัวของเขา ต่อมาในปี 1937 เขาตัดสินใจขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจที่ดินแต่ก็ต้องยุติธุรกิจที่ดินในปีนั้นเพราะเกิดสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับจีน

ในปี 1938 เขากลับมาก่อตั้งบริษัท Mitsubishi Trading Company หรือที่รู้จักกันในชื่อ Samsung Samhoe ที่เมืองแดกู โดยเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายพืชผักและอาหารแห้งทั้งในประเทศรวมถึงส่งออกไปจำหน่ายในประเทศจีนอีกด้วย

ในปี 1939 เขาทำการควบรวมกิจการบริษัทผลิตแอลกอฮอล์โชชอน รวมถึงมีการรวมตัวกับผู้มีอำนาจในแทกูเพื่อก่อตั้งสมาคมอึลยูในปี 1945

ธุรกิจของลี เบียงชอลเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดเขาได้ตัดสินใจย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่ที่เมืองโซลในปี 1947 แต่ทว่าธุรกิจทั้งหมดต้องหยุดชะงักไปเนื่องจากสงครามเกาหลีที่ปะทุขึ้นมา

ภายหลังสงครามสงบลงเขาจึงกลับมาเริ่มต้นธุรกิจอีกครั้งด้วยการสร้างโรงกลั่นน้ำตาลในเมืองปูซานก่อนจะขยายไปสู่ธุรกิจสิ่งทอและโรงงานผ้าขนสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีในขณะนั้นก่อนที่จะขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจค้าปลีกอย่างรวดเร็ว โดยลี เบียงชอลจะเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อให้ประเทศสามารถกลับมาฟื้นตัวจากสงครามได้อีกครั้ง

จุดเริ่มต้นสู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ในช่วงปลายยุค 60 กลุ่มธุรกิจของลี เบียงซอลมีการปรับตัวครั้งสำคัญโดยเริ่มเข้าสู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้กลุ่ม Samsung Electronics Devices และ Samsung Semiconductor & Telecommunications โดยความร่วมมือกันระหว่าง Sumsung กับซันโยซึ่งมีการพัฒนาไปสู่การผลิตไมโครเวฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ โดยโรงงานแรกตั้งอยู่ที่เมืองซูวอน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นแรกของซัมซุง-ซันโยก็คือทีวีขาวดำที่วางจำหน่ายในปี 1970

ในช่วงปี 1980 ซัมซุงเริ่มให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่เกี่ยวกับโทรคมนาคมภายใต้กลุ่ม Samsung Electronics ซึ่งสินค้าในกลุ่มโทรคมนาคมนี้ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและสร้างชื่อให้กับซัมซุงเป็นอย่างมากมาจนถึงทุกวันนี้

ภายหลังการเสียชีวิตของลี เบียงซอลในปี 1987 ลี คุน ฮีลูกชายก็เข้ารับตำแหน่งประธานของบริษัทแทนโดยเป็นผลให้ Samsung Group ถูกแยกออกเป็น 4 ส่วนหลัก คือ Samsung Group, Shinsegae Group, CJ Group และ Hansol Group โดย Samsung ยังคงเลือกที่จะเดินต่อในสายอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

บทเรียนแนวความคิดของลีเบียงชอล

1.แม้เกิดมาในครอบครัวที่สุขสบายก็ไม่หยุดนิ่ง

ชีวิตความเป็นอยู่ของลี เบียงชอลนั้นแทบจะเรียกได้ว่าเพียบพร้อมมาตั้งแต่เด็ก เพราะความสุขสบายมาตั้งแต่ต้นทำให้เด็กที่เกิดมาเพียบพร้อมหลายรายมักจะเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อหรือก็คือทำอะไรไม่ค่อยเป็นชิ้นเป็นอัน ด้วยความที่ไม่เคยต้องดิ้นรนมาตั้งแต่แรกนั่นเอง แต่สำหรับลี เบียงชอลนั้นเขากลับไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย เพราะนับตั้งแต่ที่เขาเรียนจบเขาก็สนใจที่จะสร้างธุรกิจด้วยตนเองมาโดยตลอด ซึ่งก็มีทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวจากสถาการณ์ภายนอกที่ส่งผลกระทบอย่างหนัก แต่ทุกครั้งที่ล้มเหลวเขากลับมีแรงฮึดที่จะลุกขึ้นสู้ทุกครั้งและที่สำคัญคือไม่เคยคิดที่จะหยุดนิ่งเลยแม้แต่ครั้งเดียวซึ่งเป็นคุณสมบัติเด่นของผู้ที่จะประสบความสำเร็จนั่นเอง

2.เติบโตด้วยกลยุทธ์กระจายความเสี่ยง

หากเราสังเกตการดำเนินธุรกิจของลี เบียงชอล เราจะเห็นกลยุทธ์หนึ่งที่น่าสนใจมากก็คือการกระจายความเสี่ยงไปสู่ธุรกิจที่หลากหลาย ในหลายอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน แม้จะดูไม่มีแนวทางที่ชัดเจนแต่หากสังเกตให้ดีเราจะพบว่าทุก ๆธุรกิจล้วนมีความสำคัญและเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น ดังนั้นเราจึงสรุปได้ว่าแม้จะดูเหมือนหว่านแหไปทั่วแต่จุดร่วมเดียวกันที่ลี เบียงชอลให้ความสำคัญในแต่ละธุรกิจก็คือธุรกิจนั้นต้องมีโอกาสเติบโตในอนาคต

3.มองหาโอกาสและเรียนรู้เพื่อที่จะสานต่อโอกาสนั้นเป็นรูปธรรม

อุตสาหกรรมที่สร้างชื่อให้กับซัมซุงมากที่สุดก็คือกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะในกลุ่มโทรคมนาคมและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หากไม่มีกลุ่มธุรกิจนี้ก็อาจจะไม่เห็นความยิ่งใหญ่ของซัมซุงในทุกวันนี้ การที่ซัมซุงปรับธุรกิจมาสู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ล้วนเกิดจากการมองหาโอกาสและเรียนรู้เพื่อสานต่อโอกาสนั้น ซึ่งเป็ยผลมาจากวิสัยทัศน์และการคาดคะเนอย่างแม่นยำ แต่กระนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดกลับเป็นความกล้าที่จะลงมือทำเพื่อให้แนวคิดนั้นออกมาเป็นรูปธรรม

4.ไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาตนเอง

จุดเด่นอีกประการก็คือการไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเองของลี เบียงชอลที่ผลักดันให้ซัมซุงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้ซัมซุงกลายเป็นแบรนด์ชั้นนำของโลกแบรนด์หนึ่งในปัจจุบัน ธุรกิจใดที่ต้องการจะประสบความสำเร็จจุดเด่นในข้อนี้ของซัมซุงจึงเป็นจุดแข็งที่ธุรกิจควรเลียนแบบเพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

ประวัติ Lee Byung-chul เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ลบคำสบประมาทที่ว่าลูกคุณหนูมักเหยียบขี้ไก่มาฝ่อเป็นอย่างดี แม้ว่าในช่วงต้นของการสร้างธุรกิจเขาจะได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวแต่ในท้ายที่สุดอาณาจักรซัมซุงที่เขาก่อตั้งก็สามารถยืนหยัดเติบโตด้วยความสามารถของตัวเขาเอง ซึ่งธุรกิจที่อยากประสบความสำเร็จจึงควรนำแนวคิดของเขาไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจและการลงทุนของตนเอง

Spread the love

About the author

invest2morrow

เว็บไซต์ให้ความรู้สำหรับการ "ลงทุน" สำหรับมือใหม่ และข่าวสารการลงทุนทั่วโลก
ติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ 0926565298